-
ฮิต: 26469
เพื่อการบำบัดและการรักษา
การฝังเข็มคือ วิธีการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยการปักเข็มเข้าไปยังตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายในตำแหน่งที่เป็นจุดเฉพาะ ปัจจุบันศาสตร์การฝังเข็ม นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังมีการฝังเข็มเพื่อสุขภาพและความงามของผิวพรรณ โดยใช้หลักการรักษาสุขภาพให้เกิดสมดุล เลือดไหลเวียนดี ผิวหน้าเปล่งปลั่ง กระชับรูขุมขน และช่วยลดการเกิดสิวฝ้าด้วยโรคหรืออาการที่รักษาด้วยการฝังเข็ม
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับการรับรองการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ตั้งแต่ปี 1973 ซึ่งปัจจุบันสามารถ รักษาโรคได้มากกว่า 80 รายการ เช่น
• ไซนัส ภูมิแพ้ หอบหืด
• ปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ
• ปวดเข่า ปวดขา ปวดหลัง ไหล่ติด
• การอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
• ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ปรับสมดุล
• สุขภาพผิวพรรณ หน้าใส ลดปัญหาสิว ฝ้า หน้ามัน กนะชับผิวหน้า รูขุมขน
• ฯลฯ
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
• ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ต้องให้การรักษาอย่างระมัดระวัง
• ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน)
• ผู้ป่วยโรคเลือด ที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด
• โรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
• โรคที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน
การเตรียมตัวก่อนและหลังการรักษา
• สวมเสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดแน่น จนเกินไป
• ควรรับประทานอาหารก่อนมาฝังเข็ม 1-2 ช.ม.
• ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย เพื่อลดการติดเชื้อ
• เพื่อผลการรักษาที่ดีแพทย์จะปักคาเข็มทิ้งไว้ ประมาณ 20-30 นาทีโดยอาจกระตุ้นด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า จากนั้นจะถอดเข็มออก ในระหว่างการคาเข็ม ผู้ป่วยต้องพยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็ม เพราะเข็มจะบิดในกล้ามเนื้อ แม้ไม่เกิดอันตราย แต่อาจทำให้เจ็บมากขึ้นและมีเลือดออกตอนถอนเข็ม ผู้ป่วยสามารถขยับตัวได้บ้าเล็กน้อยพยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะสบายที่สุด แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆ เช่นรู้สึกหวิวๆ หน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้แจ้งแพทย์ที่รักษาทราบทันที
การดูแลตัวเองหลังการฝังเข็ม
• ควนดื่มน้ำอุ่นหลังการฝังเข็ม
• สำรวจร่างกายตนเองบริเวณที่ฝังเข็ม ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออก มีรอยบวม รู้สึกเจ็บปวดต้องแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันทีเพื่อแก้ไขให้เป็นปกติก่อนกลับบ้าน
• งดการอาบน้ำเป็นเวลา 2 ชม. หลังการฝังเข็ม
• พักผ่อนให้เต็มที่อีก 1 วัน
• ถ้ามีไข้ให้ทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเอง ภายใน 24-48 ชม.
ระยะเวลาในการฝังเข็ม
ขึ้นอยู่กับอาการและดุลพินิจของแพทย์ โดยเฉลี่ย สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ควร ฝังเข็มเป็นชุด โดยหนึ่งชุด การรักษาเท่ากับ 10 ครั้ง
เรื่องราวน่าสนใจ
รู้ทันโรค
เนื้อหาล่าสุด
คำชมจากคนไข้
เรียน ดร. สุขใจ พนิชศักดิ์พัฒนา
เนื่องด้วย กระผม นาย Rick legleiter คนไข้ทะเบียน no.9942 ได้เข้ารับการรักษาฝังเข็ม กับคุณหมอ ด้วยอาการข้อเท้าเคล็ด ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมานั้น ผลปรากฏว่าอาการบาดเจ็บได้ทุเลาลงอย่างรวดเร็ว และเกือบหายเป็นปรกติในเวลานี้ ซึ่งกระผมรู้สึกประทับใจในการรักษาของคุณหมอเป็นอย่างมากและรู้สึกชื่นชมในความใส่ใจและความเชี่ยวชาญชำนาญในการรักษา
อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่